กระแส”สายมู” หรือมูเตลู ถูกหยิบมาเป็นกลยุทธ์เด็ดในการสร้างสีสัน และออกแบบผลิตภัณฑ์ในการทำธุรกิจเพื่อเอาใจวัยรุ่น-วัยทำงานมากขึ้น และก่อนที่ความเชื่อจะกลายเป็นไอเทมที่พกพาติดตัวไปไหนได้ ก็ต้องเริ่มจากการเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วันนี้ Indra outlet เลยอยากแชร์สถานที่ต่างๆ ที่เหล่าสายมูไม่ควรพลาด…
Category Archives: Blog
นักช้อปออนไลน์หลายท่านอาจจะไม่เคยสังเกตที่มาที่ไปของเซรามิกที่เรากดสั่งซื้อครั้งแล้วครั้งเล่า วันนี้เรามาดูกันว่าถ้าอยากได้เซรามิก ทำไมต้องคิดถึงลำปางเป็นอันดับแรก ลำปางเป็นจังหวัดที่มีช่างฝีมือที่มีความชำนาญในการทำเครื่องปั้นดินเผาหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน หรือของที่ระลึก ปัจจัยที่ทำให้ลำปางมีชื่อเสียงในเรื่องของเซรามิค มีดังนี้ 1.ประวัติศาสตร์การทำเครื่องปั้นดินเผามาอย่างยาวนาน ในภาคเหนือมีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญหลายแห่ง เช่น เมืองโบราณเวียงท่ากาน เมืองโบราณเวียงแก่น เมืองโบราณเวียงเกาะคา ฯลฯ ซึ่งพบหลักฐานร่องรอยการทำเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยหริภุญไชย สมัยล้านนา และสมัยธนบุรี 2.ช่างฝีมือที่มีความชำนาญ ลำปางมีช่างฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผาที่สืบทอดภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน มีการถ่ายทอดความรู้และทักษะจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ช่างฝีมือชาวลำปางมีความชำนาญในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผาที่มีความสวยงามและมีคุณภาพสูง เช่น หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้ว หมู่บ้านเซรามิกศาลาเม็ง-ศาลาบัวบก เป็นต้น 3.วัตถุดิบคุณภาพดี ลำปางมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นวัตถุดิบหลักในการทำเครื่องปั้นดินเผา เช่น ดินเหนียว หินปูน และทราย ดินเหนียวจากลำปางมีความขาวละเอียด หินปูนมีสีขาวสะอาด ทรายมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นได้ดี จึงทำให้เครื่องปั้นดินเผาจากลำปางมีความสวยงาม ทนทาน และใช้งานได้ยาวนาน 4.การพัฒนารูปแบบและลวดลาย ช่างฝีมือชาวลำปางไม่หยุดนิ่งในการพัฒนารูปแบบและลวดลายของเครื่องปั้นดินเผาให้ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค มีการผสมผสานรูปแบบและลวดลายจากวัฒนธรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เครื่องปั้นดินเผาจากลำปางมีความหลากหลายและสวยงาม โดยภายหลังมีการก่อตั้งสมาคมเครื่องปั้นดินเผา และศูนย์แสดงสินค้าเซรามิคและหัตถอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มธุรกิจด้านนี้โดยเฉพาะ ปัจจุบัน […]
มาเที่ยวลำปางเช้าเข้าวัด ทำบุญ บ่ายเดินเที่ยวช้อปของฝาก ตกเย็นเดินตลาดนัดเลียบแม่น้ำวัง มีเวลาวันเดียวก็เที่ยวได้ ตามเส้นทางนี้ สถานีรถไฟลำปาง สถานีรถไฟจังหวัดลำปาง ถูกสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2458 และเปิดใช้เมื่อ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2459 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 6 ซึ่งกินเวลามา ประมาณ 100 ปี และเป็นสถานีรถไฟที่ถูกสร้างและคงเหลือจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานีรถไฟจังหวัดลำปางยังคงมีความสำคัญแก่ประชาชนจังหวัดลำปางไม่ว่าจะอดีตจนถึงปัจจุบันการคมนาคมทางรถไฟคนลำปางยังคงนิยมในการเดินทางโดยใช้รถไฟไม่ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลต่างๆและยังคงเห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่รอบๆ สถานีรถไฟโดยจะมีการตั้งร้านค้าร้านอาหารอยู่บริเวณรอบๆ สถานีรถไฟยังคงเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและมีมนต์เสน่ห์น่าหลงไหล ดูเส้นทางคลิกที่นี่ กาดเก๊าจาว ตลาดเก๊าจาว แสดงถึงวิถีชีวิตของคนเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดเช้าที่มีขนาดใหญ่พอสมควร มีผู้คนมากมายทุกช่วงวัยมาซื้อของทั้งจากยานพาหนะ และเดินเท้า ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ พ่อเฒ่า แม่เฒ่า มีอาหารมากมายให้เลือกซื้อโดยเฉพาะอาหารเมือง อาทิ แกงฮังเล แกงอ่อม แกงแค แกงผักกาด ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู เป็นต้น รวมถึงอาหารหวาน อาทิ ขนมครก ข้าวเม่าทอด ยังมีพืชผักผลไม้พื้นเมืองและของหาทานได้ยากตามฤดูกาล อาทิ เห็ดไข่เหลือง เห็ดแป้ง เห็ดดิน […]
ต้นกำเนิดเซรามิกของโลกนั้น สันนิษฐานว่ามีประวัติยาวนาน เริ่มตั้งแต่ 1500 ปีก่อนคริสตกาล มีการใช้อิฐในการก่อสร้างที่ประเทศบาบิโลเนีย เอสซีเรีย และอียิปต์ ส่วนในเอเชียนั้นประเทศจีนมีความก้าวหน้าในการผลิต เซรามิคและเครื่องปั้นดินเผา ชนิดต่างๆ มากที่สุด มีการเคลือบเซรามิคด้วย วัสดุต่างๆ
“อาหารไทยจะมีเสน่ห์ ไม่เพียงแต่รสที่ปรุงแต่รวมถึงการนำเสนออาหารให้สื่อถึงแหล่งที่มาได้ด้วย ” เรามักจะเห็นจาน-ชาม ลายสีครามนี้ปรากฏบนโต๊ะอาหารไทยทั้งในและต่างประเทศเพื่อบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยแบบต้นตำรับ ” ลายสับปะรด “ เริ่มมาจากเครื่องลายคราม เครื่องภาชนะกระเบื้องหรือเครื่องถ้วยชามเนื้อขาว ชนิดที่เขียนลายเป็นสีคราม มีต้นกำเนิดในประเทศจีน ผลิตเครื่องกระเบื้องให้ราชสํานักพระเจ้ากรุงจีนและส่งออกขายต่างแดนได้รับความนิยมจากชนชั้นสูงทั่วโลก คนไทยเรียกเครื่องกระเบื้องว่า “กระเบื้องกังไส” สำหรับการค้นพบเครื่องลายครามในราชอาณาจักรไทย มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าในอดีตนั้นดินแดนนี้เคยมีความสัมพันธ์ทางการค้า การเมือง และนโยบายดำเนินการทางการทูตกับราชสำนักจีน เพราะนอกจากเครื่องลายครามจะเป็นสินค้าที่นิยมกันเครื่องลายครามยังเป็นเครื่องราชบรรณาการที่สำคัญอย่างหนึ่งด้วย ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำเข้าเครื่องลายคราม มาตลอดตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงยุคที่เฟื่องฟูที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการซื้อหา สะสม ประกวด เครื่องลายครามกันอย่างแพร่หลาย มีการจัดโต๊ะเครื่องลายครามประกวดกันในงานรื่นเริง งานมงคลต่าง ๆ ถึงแม้ว่าเครื่องลายครามจะไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทย แต่ลวดลายที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องลายครามไทย คือ ลายสับปะรด ศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่าที่เกิดจากความประณีต ความละเอียดอ่อน และความสร้างสรรค์ของช่างฝีมือ ซึ่งเป็นที่น่าภูมิใจของไทยที่มีหัตถศิลป์อันงดงาม ซึ่งนอกจากจะสามารถสร้างความประทับใจแก่ชาวไทย ก็เป็นอีกหนึ่งลวดลายเอกลักษณ์ของร้านอาหารไทยในสายตาชาวต่างชาติทั่วโลกได้เป็นอย่างดี ไทยแบบต้นตำรับ ต้องลายสับปะรด… อ้างอิง : บทความจากร้านศิลปะไทย ดูสินค้าลายสับปะรด คลิก
13 เมืองจำลองท่องเที่ยวลำปาง อินทราเอาท์เลท เป็นศูนย์รวมเซรามิกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง ไม่เพียงแต่การจำหน่ายเซรามิก แต่เพื่อต้องการให้ผู้ที่มาเยือนนอกจากจะได้ของฝากเป็นเซรามิกแล้ว ก็สามารถสัมผัสบรรยายกาศความเป็นลำปางได้โดยรอบอาคารจำหน่าย ในรูปแบบของเซรามิกทั้งหมด ณ ศูนย์จำหน่ายใหญ่ เมื่อเดินไปถึงส่วนอาคารที่ 1 จะพบกับตู้โชว์ที่เรียงรายอยู่ด้านหน้าประตู ในพื้นที่พักผ่อนแบบ open air โดยภายในตู้จะเป็นเหมือนโมเดลเมืองจำลอง ซึ่งมีต้นแบบมาจาก 13 สถานที่เที่ยวในลำปาง แต่ที่พิเศษกว่าการเป็นโมเดลทั่วไปก็คือ ทำจากเซรามิก ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรูป การปั้นด้วยความประณีต วาดสีด้วยมือทุกชิ้นส่วน ประกอบเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของลำปาง บางอันก็ดูแปลกตา ดูคล้ายๆ แต่ไม่เหมือน เนื่องจากสถานที่จริงเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา 13 สถานที่นั้น ประกอบไปด้วย 1. วัดพระธาตุลำปางหลวง 2. วัดเจดีย์ซาวหลัง 3. วัดศรีชุม 4. วัดไหล่หิน 5. ห้าแยกหอนาฬิกา 6. สะพานรัษฎาภิเศก 7. สุสานไตรลักษณ์ […]
ความเป็นมาชามตราไก่ “ ชามไก่ ” หรือที่คนแต้จิ๋วเรียก “โกยอั้ว ” และที่ปัจจุบันนิยมเรียก “ชามตราไก่ ” นั้น มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน โดยในประเทศไทยเป็นที่นิยมใช้รับประทานข้าวต้ม โดยเฉพาะในหมู่คนจีนแต้จิ๋ว ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจากรูปไก่สีแดง และลักษณะของชามที่เหมาะกับการใช้ตะเกียบพุ้ย ชามไก่ มีต้นกำเนิดผลิตกันในประเทศจีนกว่าร้อยปีมาแล้วในมณฑลกวางตุ้ง โดยชนชาวจีนแคะในตำบลกอปี อำเภอไท้ปู และชาวจีนแต้จิ๋วที่ตำบลปังโคย ซึ่งมีเขตติดต่อกันทางใต้ ชามไก่นอกจากใช้ในประเทศจีนแล้วยังส่งจำหน่ายแก่ชาวจีนโพ้นทะเลด้วย ดังนั้นส่วนหนึ่งจึงส่งมาจำหน่ายยังประเทศไทย ซึ่งมีชาวจีนโดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่สองยังไม่มีผู้ผลิตชามไก่ในประเทศไทย และมีความต้องการจากตลาดมาก พ่อค้าชาวจีนซึ่งอยู่แถวถนนทรงวาดตลาดเก่าในกรุงเทพฯ จึงสั่งนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งในขณะนั้นมีราคาถูกมาก ต่อมาเกิดสงครามจีนญี่ปุ่นขึ้น ทำให้ชามไก่ขาดตลาดของที่นำเข้าไม่พอขาย และราคาสูงขึ้น ต่อมามีช่างชาวจีนย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทย ได้มีการก่อเตามังกรทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งรวมถึงชามไก่ด้วย เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาด ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2480 ถึง 2500 ซึ่งได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมดินเผาสี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ, โรงงานบุญอยู่พาณิชย์ ที่เชียงใหม่, โรงงานศิลามิตรที่เชียงใหม่ […]
ความผูกพันกับชามไก่ ถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือของคุณอนุรักษ์ นภาวรรณ ผู้บริหารรุ่นที่ 2 ของบริษัทอินทราเซรามิค จำกัด ชามไก่ลำปางมีอายุครบ 60 ปีแล้ว ผลิตกันมาหลายล้านใบจนนับไม่ถ้วน ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของ เซรามิกจังหวัดลำปางที่คนส่วนใหญ่รู้จักดี หลายคนเจริญรุ่งเรืองมาได้ก็เพราะชามไก่ แต่อนาคตของชามไก่จะเป็นอย่างไรคงไม่มีใครรู้ได้ ในโอกาสกึ่งศตวรรษของชามไก่ลำปางนี้ ผมขอบังอาจวิพากษ์เรื่องของชามไก่ในอีกแง่มุมหนึ่ง นอกเหนือไปจากที่เคยเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชามไก่อย่างเป็นทางการไว้ให้กับสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปางไว้นานแล้ว เริ่มกันที่ชื่อ “ชามไก่” หลายคนบอกว่าผมเรียกผิด เขาเรียก “ชามตราไก่” กันทั่วเมือง ผมขอยืนยันว่าคนสมัยก่อนเขาเรียก “ชามไก่” ภาษาจีนเรียก “โกยอั้ว” ส่วน “ชามตราไก่” มาเรียกกันภายหลัง ซึ่งผมไม่ชอบคำว่า “ตรา” เพราะไก่เป็นลวดลายไม่ใช่ตราสินค้า ถ้าเรียก “ชามลายไก่” ยังถูกต้องกว่า เหมือนกับ “โอ่งมังกร” ที่ราชบุรี ไม่มีใครเรียก “โอ่งตรามังกร” ถ้าเป็น “โอ่งลายมังกร” ยังพอได้ยินเรียกกันอยู่บ้าง […]
นับเวลาย้อนหลังไปช่วง 80 ปีที่แล้ว สมัยของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตซึ่งตรงกับสมัยรัชกาล ที่ 5 การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง รถม้าเป็นพาหนะชนิดเดียวที่ได้รับความ นิยมในการเดินทางสูงสุดและสามารถใช้บรรทุกของหรือสินค้า รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพฯ ขณะนั้นทางกรุงเทพฯ มีรถยนต์ใช้มากขึ้น บทบาทของรถม้าลากในกรุงเทพฯ จึงลดลงรถม้าจึงได้ถูกนำมาใช้ที่นครลำปาง และยังได้กระจายไปสู่เมืองหลักของภาคต่าง ๆ ได้แก่ นครราชสีมาของอีสาน นครศรีธรรมราชของภาคใต้ นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองแม่ฮ่องสอนของทางภาคเหนือ แต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวจึงเลิกกิจการไป คงเหลือแต่เฉพาะจังหวัดลำปางแห่งเดียวที่ยังคงใช้รถม้าอยู่ตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ ปัจจุบันมีรถม้าเหลืออยู่ไว้เพื่อการบริการนักท่องเที่ยวทางจังหวัดได้จัดเส้นทางสำหรับรถม้าโดยเฉพาะ เส้นทางเลาะเลียบแม่น้ำวังโดยสมาคมรถม้าลำปาง และหากนั่งรถม้ารอบเมือง ก็จะผ่านร้านอินทราเอาท์เลท สาขาห้าแยกหอนาฬิกา สังเกตง่ายๆ เลยก็คือตึกสีเหลือง ตรงข้ามสวนสาธารณะห้าแยกหอนาฬิกา กำหนดค่าโดยสารแน่นอนไว้ 3 อัตรา คือ รอบเมืองเล็ก 150 บาท (25-30 นาที) รอบเมืองกลาง 200-300 บาท (45 นาที-1 ชั่วโมง) รอบเมืองใหญ่ 500 บาท (1.30 – 2 ชั่วโมง) […]